กล่าวถึงคณะเทพโอลิมเปียนซึ่งมีเทพีพรหมจารีปรกอบอยู่ด้วยกัน 3 องค์ มีชื่อตามลำดับ ได้แก่ เฮสเทีย (Hestia) เอเธน่า (Athene) และ อาร์เตมิส (Artemis) ซึ่งเทพีองค์แรกถือเป็นเทพีภคินีของเทพปริณายกซูส ส่วนอีก 2 องค์หลังนั้นเป็นธิดาของเทพปริณายกซูส ซึ่งแต่ละองค์มีประวัติเล่าขานและความสำคัญที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้
การประสูติของเทพีเอเธน่าเป็นที่กล่าวขานกันว่า ครั้งหนึ่งในอดีต ซูสเทพบดีได้ฟังคำทำนายขึ้นมาว่า โอรสธิดาที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากมเหสีมีทิส (Metis) ผู้ทรงปัญญา จะมีอำนาจในการล้มบัลลังก์ของพระองค์ได้ในอนาคต เมื่อได้ฟังดังนั้นไท้เธอก็พยายามแก้ปัญหาง่ายๆ โดยการจับตัวมีทิสที่กำลังตั้งครรภ์แก่กลืนเข้าไปอยู่ในท้อง แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน เทพปริณายกซูสก็เกิดอาการปวดหัวขึ้นมาอย่างหนักทบทนไม่ไหว ไท้เธอจึงมีเทวโองการรับสั่งให้เทพทั่วเขาโอลิมปัสมาร่วมประชุม เพื่อให้ช่วยกันคิดหาทางออกที่จะบำบัดอาการปวดหัวที่ไท้เธอเป็นอยุ๋ แต่ก็ไม่มีทวยเทพองค์ใดสามารถคิดแก้ไขปัญหาออกได้เลยแม้แต่ผู้เดียว ซึ่งในขณะนั้น เทพซูสก็ไม่อาจจะทนความรู้สึกเจ็บปวดเช่นนี้อีกต่อไปได้ จึงมีเทวบัญชาเพื่อสั่งโอรสองค์หนึ่วของพระองค์ ที่ชื่อว่า ฮีฟีสทัส (Hephaestus) หรือ วัลแคน (Vulcan) นำขวานมาผ่าลงไปที่เศียรของไท้เธอ เทพฮีฟีสทัสก็ปฏิบัติตามคำสั่งของบิดา และเอาขวานจามลงไปที่เศียรเทพซูส แต่ยังไม่ทันที่ขวานจะทำให้เศียรของเทพซูสแยกออกจากกันดี เทพีเอเธน่าก็ประสูติขึ้นมาจากเศียรของเทพบิดา โดยลักษณะของเธอนั้นอยู่ในวัยที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และฉลององค์ด้วยหุ้มเกราะงามแวววาว และในมือถือหอกเป็นอาวุธ เทพีเอเธน่าประกาศชัยชนะด้วยเสียงอันดังไปทั่วจนเป็นที่พิศวงหวั่นหวาดแก่ทวยเทพทั้งหลายอย่างที่สุด และทันใดนั้นเอง พื้นพสุธาและมหาสมุทรก็เกิดการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า เทพีเอเธน่าองค์นี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว
การอุบัติของเทพีเอเธน่าถือเป็นโชคดีที่จะนำโลกไปยังสันติสุขและช่วยกำจัดความโง่เขลาที่ปกครองโลกที่เคยมีให้หมดสิ้นไป ซึ่งการที่เจ้าแม่กำเนิดออกมาจากเศียรของเทพซูส เทพีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูป ก็หนีให้เจ้าแม่เข้าครองแทนที่ เพราะฉะนั้น เทพีเอเธน่าจึงถือเป็นที่บูชาในฐานะเทพีผู้มีปัญญา อีกทั้งยังเป็นเทพีที่มีฝีมือในการหัตถกรรม เย็บปักถักร้อย รวมไปถึงยุทธศิลปในการปกป้องบ้านเมืองก็มีดีไม่แพ้ใคร
หลังจากการประสูติของเจ้าแม่เอเธน่าได้ไม่นาน ก็มีหัวหน้าชาวฟีนิเชียคนหนึ่ง ที่มีนามว่า ซีครอบส์ (Cecrop) ได้นำเอาบริษัทบริวารเดินทางอพยพเข้าสู่ประเทศกรีซ และได้เลือกชัยภูมิอันกว้างใหญ่แห่งหนึ่งในแถบแคว้นอัตติกะ (Attica) ก่อนจะจัดตั้งสร้างภูมิลำเนา สร้างบ้านเรือนขึ้น จนในที่สุดก็กลายเป็นนครอันสวยงามนครหนึ่ง เทพทั้งกลายที่คอยเฝ้าดูการสร้างเมืองแห่งนี้ ล้วยเต็มเปี่ยมไปด้วยความเลื่อมใส และเมื่อเห็นว่าเมืองที่สร้างมีเค้าใกล้จะกลายเป็นนครยิ่งใหญ่อันแสนน่าอยู่ขึ้นมาแล้ว แต่ละเทพก็ต่างแสดงความปรารถนาอยากจะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนครกันทั้งนั้ย ด้วยเหตุนี้จึงมีการประชุมเพื่อถกถึงเรื่องนี้ ซึ่งระหว่างการประชุมก็มีการอภิปรายโต้แย้งกันมากมาย แต่เทพส่วนใหญ่ก็ต่างพากันสละสิทธิ์ไปจนหมด เหลือแต่เพียงเทพโปเซดอนและเทพีเอเธน่า 2 องค์เท่านั้น ที่ยังไม่ยอมวางมือ และยังคงแก่งแย่งเมืองนี้กันอยู่ต่อไป
เพื่อต้องการให้ยุติปัญหาว่าผู้ใดกันแน่ที่สมควรจะได้รับเอกสิทธิ์ในการประสาทชื่อนครแห่งนี้ แต่เทพปริณายกซูสก็ไม่พึงประสงค์จะชี้ขาดด้วยเกรงว่าจะทำให้เป็นที่ครหาว่าพระองค์เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นได้ ว่าแล้ว ไท้เธอจึงได้มีเทวโองการว่า นครแห่งนี้ควรจะอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเทพ หรือเทพี ซึ่งมีความสามารถในการเนรมิตสิ่งของที่คิดว่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์ที่สุดให้ เพื่อให้มนุษย์สามารถนำไปใช้ได้ และมอบอำนาจให้ที่ประชุมมีหน้าที่ในการตัดสินชี้ขาดว่าใครนั้นมีความเหมาะสมมากกว่ากัน
เทพโปเซดอนเป็นผู้เริ่มสร้างก่อน เธอได้ยกตรีศูลคู่มือขึ้นมากระแทกลงไปบนพื้น ซึ่งทำให้เกิดเป็นม้าลำยองตัวหนึ่งผุดขึ้นมา เหล่าเทพทั้งหลายต่างพากันส่งเสียงแสดงความพิศวงและกล่าวชื่นชมในเทพผู้นี้เป็นอย่างมาก เทพโปไซดอนได้อธิบายถึงคุณประโยชน์ของม้าตัวนี้ให้แก่เหล่าเทพทั้งหลายทั้งปวงได้ฟัง ซึ่งทำให้เทพทุกองค์ต่างคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า เทพีเอเธน่าคงจะไม่อาจเอาชนะได้เป็นแน่แท้ พร้อมกับมีอารมณ์เบิกบานและกล่าว เย้ยหยันด้วยเสียงอันดังก้อง ทันใดนั้นเอง เจ้าแม่เอเธน่าก็ได้เนรมิตเป็นต้นมะกอกต้นหนึ่งขึ้นมา และเจ้าแม่ก็ได้อธิบายถึงคุณสรรพคุณของต้นมะกอก ว่ามนุษย์จะสามารถนำเอามันไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างนานัปการ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม้ ผล กิ่งก้าน หรือใบ อีกทั้งมะกอกยังถือเป็นเครื่องหมายแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งแน่นอนว่าคงจะเป็นประโยชน์และเป็นที่พึงประสงค์กว่าม้าตัวนั้น ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งสงครามเป็นแน่ เมื่อเหล่าเทพได้ฟังดังนั้น ก็ต่างคิดเห็นเช่นกัน ว่าของที่เจ้าแม่เอเธน่าสร้างขึ้นมานั้นมีประโยชน์กว่าจริงๆ เหล่าเทพจึงได้ลงมติเข้าช้างเจ้าแม่ ทำให้เจ้าแม่เป็นผู้ไดรับชัยชนะไปในที่สุด ทำให้เจ้าแม่เอเธน่าได้เป็นผู้ตั้งชื่อนครแห่งนั้น ตามชื่อของเจ้าแม่เองว่า เอเธนส์ (Athens) เพื่อเป็นเครื่องมือที่คอยระลึกถึงชัยชนะในครั้งนี้ และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ชาวกรุงเอเธนส์ก็ให้การเคารพบูชาเจ้าแม่ ในฐานะที่เธอเป็นเทพีผู้ปกครองนครของพวกเขามาอย่างดีตลอดมา
เรื่องที่เล่ามานี้ไม่ใช่เพียงแค่ต้นกำเนิดของชื่อเมืองเอเธนส์เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการกล่าวถึงตำนานการกำเนิดของม้าที่อยู่ในเทพปกรณัมกรีกอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการเล่าถึงที่มาของต้นมะกอก ว่าที่ชาวตะวันตกถือว่าช่อมะกอกใช้เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ก็เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้นี่เอง
อีกเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเทพีเอเธน่าเช่นกัน เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่แสดงถึงที่มาหรือต้นกำเนิดของสิ่งจากธรรมชาติเพื่อสนองต่อความอยากรู้อยากเห็นของคนโบราณ ดังจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้
ในสมัยดึกดำบรรพกาล ประเทศกรีซมีดรุณีน้อยผู้หนึ่งที่มีรูปโฉมหน้าตาที่งดงามน่าพิสมัย ที่มีชื่อว่า อาแรคนี (Arachne) อย่างไรก็ตาม นางผู้นี้มีความหยิ่งผยองในฝีมือการทอผ้าและการปั่นด้ายอันยอดเยี่ยมของนางเป็นอย่างมาก ทำให้เป็นข้อเสียเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เธอไม่ได้เป็นที่รักของเทพและมนุษย์ทั้งมวลเสียเท่าไร
อาแรคนี ทะนงในตนเองว่า นางเท่านั้นที่มีฝีมือในด้านหัตถกรรม และสำคัญตนว่าคงไม่มีใครที่สามารถมีฝีมือทัดเทียมเสมอกับนางได้เลย อีกทั้งยังเที่ยวคุยฟุ้งเฟื่องไปถึงไหนต่อไหนถึงความเก่งกาจของตนเองเสียอีก เมื่อความถึงหูของเจ้าแม่เอเธ เธอจึงตัดสินใจที่จะลงมาประชันฝีมือแข่งกับนางอาแรคนี ซึ่งนางอาแรคนีก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะได้แข่งขันกับเจ้าแม่ และไม่ลืมที่จะโอ้อวดตัวเองอย่างเนือง ๆ ในที่สุด เจ้าแม่เอเธน่าก็หมดความอดทน และเกิดความรำคาญ ทำให้ต้องลงมาจากเขาโอลิมปัสเพื่อทำโทษนางอาแรคนี ไม่ให้มีใครคิดเอาเป็นแบบอย่างเช่นนี้อีก โดยวิธีการทำโทษของเจ้าแม่ทำโดยการจำแลงกายเป็นยายแก่ เพื่อเดินเข้าไปในบ้านของนางอาแรคนี เจ้าแม่เข้าไปชวนนางอาแรคนีคุยอยู่ชั่วครู่ ซึ่งนางอาแรคนีก็คุยโวถึงฝีมือของตน และเริ่มพูดถึงเรื่องการแข่งขันเพื่อประลองฝีมือกับเจ้าแม่เอเธน่า เมื่อเจ้าแม่ได้ฟังดังนั้น ก็กล่าวตักเตือนห้ามปรามอย่างละม่อม และบอกให้นางสงบปากสงบคำไว้บ้าง เพราะคำพูดไม่ดีเช่นนี้อาจเป็นเหตุให้เทพเจ้าขัดเคือง และยังผลให้นางเกิดภัยร้ายแรงแก่ตัวเองได้ แต่เนื่องจาจิตใจของนางอาแรคนีมีแต่ความมืดมนและหลงทะนงตนมากเสียจนไม่สนใจต่อคำตักเตือนของยายแก และยังพูดสำทับเพิ่มเติมอีกด้วยว่า นางอาแรคนีอยากจะให้เจ้าแม่มาได้ยินคำพูดของนางเสียเหลือเกิน และจะได้ลงมาท้าประกวดฝีมือกับนางเสียที เมื่อเจ้าแม่ได้รับรู้แล้วว่านางอาแรคนีมีนิสัยที่ชั่วช้าเพียงใด เจ้าแม่ก็เกิดความโมใหหจนถึงขีดสุด พร้อมกับสำแดงองค์ให้นางอาแรคนีเห็นตามจริง พร้อมรับคำท้าที่จะท้าประลองฝีมือในทันที
การแข่งขันเริ่มต้นขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายจัดแจงตั้งหูกพร้อมสรรพ จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็ทอลายผ้าอันแสนวิจิตรงดงามขึ้น โดยเทพีเอเธน่าเลือกทอภาพในครั้งที่เจ้าแม่แข่งขันประลองกับเทพโปเซดอน ในขณะที่ นางอาแรคนีก็เลือกเอาภาพซูสตอนที่ลักพาตัวนางยูโรปามาเป็นลายในการทักทอ เมื่อครั้นที่ต่างฝ่ายต่างทอเสร็จ ก็ได้นำเอาลายผ้ามาเปรียบเทียบกัน ทันทีที่นางอาแรคนีได้เห็นผ้าทอของเจ้าแม่ ก็รับรู้ได้ทันทีว่าผลงานของนางพ่ายแพ้อย่างหลุดลุ่ย ลายรูปโคโลดแล่นในทะเลในขณะที่มีคลื่นซัดสาดออกเป็นฟองฝอย กับภาพนางยูโรปาที่เกาะเขาอยู่ในอาการกึ่งยิ้มกึ่งตกใจ และมีเกศาและผ้าสไบที่พลิ้วไหลปลิวไปตามสายลมที่นางอาแรคนีทอขึ้น ไม่อาจสามารถจะเทียบเคียงกับลายรูปชมรมของเหล่าทวยเทพ ที่ขนาบข้างไปด้วยรูปม้าและต้นมะกอกเนรมิต อันดูเหมือเป็นภาพที่มีชีวิตที่เจ้าแม้ถักทอขึ้นมาได้เลย ทำให้ยางอาแรคนีรู้สึกเสียใจ เจ็บใจ และระอายใจในความผิดพลาดของตนเองเป็นอย่างมาก นางอาแรคนีไม่อาจสามารถจะทนอยู่บนโลกใบนี้ได้อีกต่อไป จึงได้เอาเชือกผูกคอเพื่อหมายจะปลิดชีวิตของตนเอง แต่เมื่อเจ้าแม่เอเธน่าได้เห็นดังนั้นว่านางอาแรคนีคิดจะหนีโทษทัณฑ์ไป เจ้าแม่จึงรีบสาบเพื่อเปลี่ยนกายของนางอาแรคนีให้กลายเป็นแมงมุมห้อยโตงเตง และสาปให้แมงมุมนางอาแรคนีต้องปั่นและทอใยไปเรื่อยๆแบบไม่มีวันหยุด ทั้วนี้ก็เพื่อเป็นการตักเตือนมนุษย์ไม่ให้เกิดมีมนุษย์ที่คิดจะทะนงตนทัดเทียมเทพเช่นเดียวกับนางอาแรคนีอีกเด็ดขาด
ตามปกติแล้ว เทพีเอเธน่าจะประทับอยู่เคียงข้างซูสเทพบิดาตลอดเวลา เพื่อคอยให้คำปรึกษา ความเห็น หรือคำแนะนำแสนแยบคายต่อเทพซูสตลอดเวลา ครั้นเมื่อมีศึกสงครามเกิดขึ้นบนโลก เทพีเอเธน่าก็จะขอประทานยืมโล่ของเทพบิดาลงมาสนับสนุนให้แก่ฝ่ายที่ถูกต้อง และมีเหตุผลอันชอบธรรมในการสงครามอยู่เสมอ ดังเช่น สงครามกรุงทรอยที่เป็นที่โจษจันกันไปทั่ว ซึ่งศึกครั้งนั้น เทพีเอเธน่าก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่ขอเข้าร่วมด้วย เธออยู่ฝ่ายเดียวกับกรีก ซึ่งตรงข้ามกับเทพองค์อื่น ๆ เช่น เทพีอโฟร์ไดท์ หรือ เทพเอเรส เป็นต้น ที่หันไปเข้าข้างฝั่งทรอย
ด้วยเหตุที่เทพีเอเธน่ามีความสามารถในการทำสงคราม จึงทำให้เจ้าแม่กลายเป็นเทพีอุปถัมภ์ของบรรดานักรบไปด้วยพร้อมๆกัน จะไม่มีวีรบุรุษคนสำคัญใดๆบนโลกเกิดขึ้นได้เลย หากขาดการสนับสนุนช่วยเหลือจากเจ้าแม่ มีครั้งหนึ่งที่เทพีเอเธน่าเคยช่วยเฮอร์คิวลิสทำสงคราม ซึ่งทำให้เขาสามารถทำงาน 12 อย่างตามที่เทพีฮีร่าสั่งเอาไว้ได้ อีกทั้ง ยังเคยช่วยเปอร์เซอุสฆ่านางการ์กอนเมดูซ่า ช่วยโอดีสซีอุส (หรือยูลิซิส) ให้เดินทางกลับจากยุทธภูมิสู่ทรอยได้อย่างปลอดภัย รวมไปถึงการช่วยเหลือเตเลมาคัส ผู้เป็นบุตรชายของโอดีสซีอุสให้สามารถเจอพ่อได้สำเร็จ
ด้วยความที่ชาวกรีกนับถือเจ้าแม่เป็นอย่างมาก ชาวกรีกจึงได้มีการสร้างวิหารเพื่อถวายบูชาแด่เทพีเอเธน่าเอาไว้ มากมายนับไม่ถ้วน แต่สถานที่แห่งหนึ่งที่นับได้ว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ วิหาร พาร์ธีนอน ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงเอเธนส์ ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจะหลงเหลือแต่เพียงซาก ก็ยังคงมีเค้าของงานฝีมืออันวิจิตรพิสดารหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง
นอกจากชื่อ เอเธน่า หรือ มิเนอร์วา แล้ว ชาวกรีกและชาวโรมันยังเรียกชื่อเจ้าแม่ในอีกหลายรูปแบบ โดยชื่อที่แพร่หลายมากที่สุด ได้แก่ พัลลัส (Pallas) ทำให้จนบางที เจ้าแม่ก็ถูกเรียกชื่อควบว่าเป็น พัลลัสเอเธน่า เลยก็มี ซึ่งต้นเหตุที่ชื่อนี้ถูกเรียกกันอย่างกว้างขวาง ก็เพราะครั้งหนึ่งเจ้าแม่เคยปราบยักษ์ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า พัลลัส แม้ตำนานจะไม่ปรากฏชัดแจ้ง แต่ก็มีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าแม่สามารถฆ่ายักษ์ตนนี้ได้สำเร็จ และถลกเอาหนังของยักษ์ออกมาคลุมองค์ ทำให้กลายเป็นที่มาของชื่อเรียกนี้ไปในที่สุด อีกทั้ง รูปปั้นประติมาหรืออนุสาวรีย์ของพระองค์ ก็ถูกเรียกว่า พัลเลเดียม (Palladium) ซึ่งคำว่า Palladium ในภาษาอังกฤษก็หมายความถึง ภาวะหรือปัจจัยที่นำพาความคุ้มครอง หรือความปลอดภัยให้บังเกิดแก่หมู่ชน เปรียบเสมือนพัลเลเดียมที่ชาวโรมันรักษาเอาไว้ในวิหารเวสตานั่นเอง
เมื่อกล่าวถึงการครองความบริสุทธิ์ของเจ้าแม่ ก็มีตำนานเล่าขานเอาไว้ว่า เทพฮีฟีสทัสนั้นแอบหลงรักและต้องการตัวของเจ้าแม่มาวิวาห์ด้วย เธอจึงได้ไปทูลขอต่อเทพบิดา ซึ่งเทพบิดาก็อนุญาตแต่โดยดี แต่ก็ให้ฮีฟีทัสมาลองถามความสมัครใจของเจ้าแม่เอาเอง แต่ไม่รู้ว่าเทพฮีฟีทัสไปทำอะไรไม่ดีเอาไว้ จึงทำให้เจ้าแม่ปฏิเสธการแต่งงานครั้งนี้ ทำให้ฮีฟีสทัสคิดจะรวบรัดตัดตอนฉุดเอาตัวเจ้าแม่มาโดยพลการ ระหว่างการแย่งชิงตัวครั้งนี้ ความไม่บริสุทธิ์ของฮีฟีทัสก็ล่วงหล่นลงมายังพื้นโลก ก่อให้เกิดเป็นทารกเพศชาย คนหนึ่งผุดขึ้นมาในทันใด ทำให้เจ้าแม่สามารถรอดพ้นจากการแปดเปื้อนมลทินครั้งนี้ได้ แต่ก็ได้รับทารกเอามาดูแลเอง โดยบรรจุทารกอาไว้ในหีบ เฝ้ายามโดยงู และฝากให้ลูกสาวของท้าวซีครอปส์ช่วยดูแลอีกทอดหนึ่ง พร้อมกำชับอย่างเด็ดขาดว่ามิให้เปิดหีบออกดู แต่ลูกสาวของท้าวซีครอปส์ก็ขัดขืน และพยายามจะเปิดหีบใบนั้นออกดู เมื่อเปิดหีบขึ้นมาก็พบกับงูเข้า จึงวิ่งหนีตกเขาตายไป ส่วนทารกคนนั้น ก็มีชื่อว่า อิริคโธเนียส (Erichthonius) ซึ่งเมื่อเติบโตในภายหลังก็ได้ขึ้นครองกรุงเอเธนส์ ในขณะที่เจ้าแม่เอเธน่าก็ไม่ได้รับการเกี้ยวพาราศีจากเทพองค์ใดเลยอีกต่อไป แม้ว่าจะมีบางตำนานที่กล่าวถึงว่า เทพีเอเธน่าเคยหลงรักกับบุรุษรูปงามผู้หนึ่งที่มีชื่อว่า เบลเลอโรฟอน จนถึงกับเก็บไปฝันว่าเอาอานม้าทองคำมาให้เขา ทั้งนี้ ก็เพราะชายหนุ่มต้องการจะได้มีโอกาสขึ้นขี่ม้าวิเศษเปกาซัส แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏตำนานเรื่องเล่าว่าเทพีเอเธน่าได้สานต่อเรื่องราวความสัมพันธ์กับเบลเลอโรฟอนแต่อย่างใด และบุรุษหนุ่มผู้นี้ก็มาเกิดอุบัติเหตุตกม้าตายในภายหลังด้วย
เทพีเอเธน่ามีพฤกษาประจำตัวเป็นต้นโอลีฟ และมีนกคู่ใจเป็นนกฮูก
ที่มา http://www.tumnandd.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2-athena/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น